ประเทศไทยแต่เดิมมีชื่อว่า "ประเทศสยาม" หรือ "สยามประเทศ"
ดินแดนที่เป็นประเทศไทยส่วนใหญ่นับแต่บริเวณภาคใต้ไปจนภาคเหนือ
อันเป็นเขต ป่าเขานั้น อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า กึ่งชุ่มชื้น และกึ่งแห้งแล้ง จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมแก่การตั้งหลักแหล่งของชุมชนมนุษย์ให้เป็นบ้านเมืองได้เกือบทั้งสิ้น
รัฐหรือแคว้นในดินแดนประเทศไทยในระยะแรกเริ่มส่วนใหญ่
เกิดขึ้นในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 7-8 เรื่อยมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 15 การย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจึงเลือกเฟ้นและจำกัดอยู่ในบริเวณภูมิภาคดังกล่าว
ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านเกษตรกรรมและการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้ากว่าบริเวณอื่น
ๆ
ภาคอื่นซึ่งได้แก่ภาคเหนือและบริเวณอื่นที่ใกล้เคียงก็มีผู้คนอยู่เพียงแต่มีแต่เป็นชุมชนเล็ก
ๆ กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เท่านั้น
กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา
นับได้ว่ามีฐานะเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริงสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เป็นอาณาจักรสยามอย่างแท้จริง คือมีหลักฐานทั้งด้านพระราชพงศาวดารและกฎหมายเก่าตลอดจนจารึกและลายลักษณ์อื่น
ๆ
ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินที่รวมศูนย์แห่งอำนาจมาอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์
ณ ราชธานีเพียงแห่งเดียว
นั่นก็คือ การยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ เช่น พระราชโอรส
พระราชนัดดา ไปปกครองเมืองสำคัญที่เรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือหลานหลวง
ตั้งแต่ก่อนออกกฎข้อบังคับให้บรรดาเจ้านายอยู่ภายในนครโดยมีการแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง
ชั้นยศ ศักดิ์ และสิทธิพิเศษของแต่ละบุคคล ส่วนในเรื่องการปกครองหัวเมืองนั้น
โปรดให้มีการแต่งตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองเจ้าเมือง ขุนนาง
และคณะกรรมการเมืองแต่ละเมืองมีตำแหน่ง ยศ ชั้น ราชทินนาม และศักดินา
ลำดับในลักษณะที่สอดคล้องกับขนาดและฐานความสำคัญของแต่ละเมือง
ส่วนเมืองรองลงมาได้แก่ เมืองชั้นโท และชั้นตรี
ที่มีเจ้าเมืองมียศเป็นพระยาหรือออกญาลงมา บรรดาเจ้าเมืองเหล่านี้ไม่มีอำนาจและสิทธิในการปกครองและการบริหารเต็มที่อย่างแต่ก่อน
จะต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมของเจ้าสังกัดใหญ่ในพระนครหลวง
ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือน
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา
ผู้ที่เรียกว่าชาวสยามหรือเมืองที่เรียกว่าสยามนั้น หมายถึงชาวกรุงศรีอยุธยาและราชอาณาจักรอยุธยาในลักษณะที่ให้เห็นว่าแตกต่างไปจากชาวเชียงใหม่
ชาวล้านนา ชาวรามัญ ชาวกัมพูชา ของบ้านเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน
ที่ตั้งของประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า "คาบสมุทรอินโดจีน"
ซึ่งมีความหมายมาจากการเป็นคาบสมุทรที่เชื่อมต่อ คืออยู่ระหว่างกลางของดินแดนใหญ่ 2 บริเวณ
คืออินเดียทางตะวันตก และจีนทางตะวันออก โดยล้อมรอบไปด้วยเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือ
พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และเพื่อนบ้าน ในเขตภูมิภาคคือ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
บรูไน และฟิลิปปินส์
ภาษา
ประเทศไทยมีภาษาของตนเองโดยเฉพาะทั้งภาษาพูดและเขียนเป็นภาษาประจำชาติ
เรียกว่า "ภาษาไทย" เราไม่ทราบแน่นอนว่าภาษาไทยกำเนิดมาจากแหล่งใด
แต่เมื่อพบศิลาจารึกที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 1826เป็นต้นมา ทำให้เราสามารถทราบประวัติและวิวัฒนาการของภาษไทย
ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นภาษาที่มีระดับเสียง โดยการใช้วรรณยุกต์กำกับ
คือมีเสียงวรรณยุกต์ 4 รูป คือ ไม้เอก โท ตรี และจัตวา
กำกับบนอักษรซึ่งปัจจุบันมีอักษรใช้ 44 ตัว แบ่งออกเป็นอักษรสูง 11 ตัว
อักษรกลาง 9 ตัว และอักษรต่ำ 24 ตัว มีสระ 28 รูป ซึ่งมีเสียงสระ 32 เสียง ประกอบคำโดยนำเอาอักษรผสมกับสระวรรณคดี ต่าง
ๆ ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
นั้นกวีได้นำคำมารจนาให้เกิดความไพเราะเพราะพริ้งได้ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากลักษณะของภาษาไทย
นั่นเอง
เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีเนื้อที่กว้าง 1,549 ตารางกิโลเมตร
เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญต่าง ๆ ของชาติแต่เดิม กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นจังหวัด
ๆ หนึ่งเรียกชื่อตามราชการว่า จังหวัดพระนคร ต่อมาได้รวมกับจังหวัดธนบุรี
ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับกรุงเทพฯ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นจังหวัดเดียวกันโดยเรียกชื่อใหม่ว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335
รัฐบาลและการปกครอง
ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
ประเทศไทยมีการจัดระเบียบการปกครองภายในประเทศอย่างเป็นระบบ มาช้านานแล้ว
ซึ่งยังผลให้ประเทศไทยมีความเป็นปึกแผ่นและสามารถรักษาเอกราชมาได้จนถึงทุกวันนี้
การปกครองของไทยได้ปรับและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย
และเป็นไปตามความต้องการของประเทศชาติเสมอมา
ทำให้วิธีดำเนินการปกครองแต่ละสมัยแตกต่างกันไป
สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - 1981)
การปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์
คำนำหน้าของ พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจึงใช้คำว่า "พ่อขุน"
สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)
เริ่มต้นเมื่อพระเจ้าอู่ทอง
ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีเมื่อราวปี พ.ศ. 1893 คำที่ใช้เรียกพระเจ้าอู่ทองมิได้เรียก
"พ่อขุน" อย่างที่เรียกกันมาครั้งสุโขทัย แต่เรียกว่า "สมเด็จ
พระพุทธเจ้าอยู่หัว" พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเทวราชหรือสมมติเทพ เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ ปกครองแผ่นดิน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325 - 2475)
ได้นำเอาแบบอย่างการปกครองในสมัยสุโขทัย และอยุธยามาผสมกัน
ฐานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้อยู่ในฐานะเทวราชหรือสมมติเทพดังแต่ก่อน
ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
ถึงแม้จะปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่มีลักษณะประชาธิปไตยแฝงอยู่ในหลายรูปแบบ
เช่น
แทรกอยู่ในการปกครองพระมหากษัตริย์ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประขาชนในการดำรงชีวิต
การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร์
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการ ปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่ที่ 3 สถาบันสำคัญคือ
สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมาย
สถาบันบริหารซึ่งมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และสถาบันตุลาการซึ่งมีศาลสถิตยุติธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธย
ศาสนา
ประเทศไทย มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ คนไทยสามารถนับถือศาสนาต่าง
ๆ กันได้ แต่มีผู้นับถือศาสนาพุทธกว่าร้อยละ 90 คนไทยยังนับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และซิกซ์ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของไทยและกฎหมายอื่น ๆ
ให้ความคุ้มครองในเรื่องการนับถือศาสนาเป็นอันดี
ไม่ได้บังคับให้ประชาชนชาวไทยนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เป็นการเฉพาะ
โดยถือว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนานิกายของศาสนา แม้ศาสนาต่าง ๆ
จะมีแนวทางปฏิบัติและรายละเอียดบางประการที่แตกต่างกันแต่ก็มีหลักเดียวกันคือต่างมุ่งสอนให้ทุกคนประกอบความดี
ละเว้นความชั่ว ทั้งนี้เพื่อความเจริญของบุคคลในทางร่างกาย และจิตใจ อันจะนำสันติสุขมาสู่สังคมส่วนรวม
ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek)
ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น
ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ
ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์
รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย
โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม
มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น
เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น
อาหารประจำชาติไทย
ต้มยำ
กุ้ง (Tom Yam Goong)
ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารประเภทแกง
เป็นอาหารคาวที่รับประทานกับข้าวสวย รับประทานกันทั่วทุกภาค
ในประเทศเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก
จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย ชาวต่างชาติ จะรู้จักต้มยำ
ในรูปของต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ โดยต้มยำจะใส่เนื้อสัตว์อะไรก็ได้
เช่น กุ้ง หมู ไก่ ปลา หัวปลา
หรือจะไม่ใส่เนื้อสัตว์เลยก็ได้
ผักที่นิยมใส่มากที่สุดในต้มยำ ได้แก่ ใบมะกรูด ตะไคร้ ข่า พริก ผักอื่น ๆ
ที่นิยมใส่รองลงมาได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดหูหนู
เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า หัวปลี ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำ
เป็นต้องใส่คือ มะนาว น้ำปลา
น้ำตาล น้ำพริกเผา
ส้มตำ
ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและ
ประเทศลาว
ผัดไทย
ผัดไทยได้กลายมาเป็นอาหารที่รู้จักกัน
แพร่หลายจนกระทั่งตั้งแต่ สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ท่านได้รณรงค์ให้คนไทยมารับประทานผัดไทย
เนื่องจากผัดไทยเป็นอาหารที่นิยมมาก จึงหารับประทานง่าย มีขายทั่วไปและรสชาติอร่อย
ร้านผัดไทยแต่ละร้าน
จะมีสูตรวิธีการปรุงและเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละร้านที่ไม่เหมือนกัน
ซึ่งสืบทอดต่อกันมาหลายปี ถึงมีการกล่าวว่า
ประเทศไทยมีสารพัดแกงซึ่งสามารถกินไม่ช้าแต่ละวัน แต่ผัดไทยก็เช่นกันมีวิธีการปรุงซึ่งไม่ซ้ำกันแต่ละร้านเช่นกันว่าไปแล้ว
ถ้าจะต้องเลือก "ผัดไทย" มาเป็นอาหารประจําชาติไทย ได้นั้นถือว่า
น่าภาคภูมิใจอย่างมาก เพราะอาหารไทยทุกชนิด ล้วนแต่อร่อยและมีเอกลักษณ์
และรสชาติที่โดดเด่น ยากในการตัดสินใจที่จะเลือก อาหารไทยบ่งบอกและเต็มไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมไทย
จึงเป็นที่รักใคร่ และได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก ไม่แพ้ชาติไหนเลย
ขนมชั้น
ขนมชั้น เป็นขนมไทย ที่ถือเป็น ขนมมงคล
และจะต้อง หยอด ขนมชั้น ให้ได้ 9 ชั้น เพราะ คนไทย มีความเชื่อ ว่าเลข 9 เป็น
เลขสิริมงคล หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า และ ขนมชั้น ก็หมายถึงการได้ เลื่อนชั้น
เลื่อยศถาบรรดาศักดิ์ ให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป
ขนมหม้อแกง
เป็นขนมพื้นเมืองโบราณเก่าแก่ของเหล่าแม่ๆทั้งหลายที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ขนมหม้อแกงถูกพัฒนาไปหลายแบบเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มคนสมัยใหม่
อีกทั้งเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง จึงมีสินค้าที่มีรสชาติและหน้าตาใหม่ๆ
โดยอาจจะใส่เผือกหรือเมล็ดบัวลงไป เพื่อให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติอร่อยมากขึ้นอีกด้วย
คำทักทาย
เมื่อได้รู้จักลักษณะของภาษาต่าง
ๆ ในอาเซียนไปแล้ว ครั้งนี้เราจะได้รู้จักคำทักทายในภาษาต่าง ๆ ของอาเซียนกัน
เริ่มจากภาษาของเราเองคือภาษาไทย อาจารย์เปลื้อง ณ นคร
ได้เคยเขียนเล่าไว้ในหนังสือ ภาษาไทย ๒๕๒๗ หัวข้อเรื่อง “ภาษาทักทาย” ว่า เดิมทีเรามักจะทักทายกันว่า “สบายดีหรือ”
แล้วแถมว่า “ไปไหนมา” ซึ่งแสดงว่านึกถึงทุกข์ร้อนของเพื่อนร่วมชาติ ส่วนที่ถามว่า “ไปไหนมา” นั้น ก็ถามไปอย่างนั้นเอง
ไม่ได้อยากรู้จริง ๆ ว่าไปไหนมา ซึ่งคนตอบก็มักจะตอบว่า “เปล่า” แล้วคนถามก็ไม่ได้ซักต่อไปอีก ท่านผู้รู้บางท่านก็อธิบายว่าที่ทักอย่างนั้นก็เพราะเมื่อก่อนไทยเป็นชาติที่อพยพอยู่เสมอ
เมื่อพบกันจึงต้องถามกันตามนิสัย
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ประกาศให้ใช้คำว่า สวัสดี เป็นคำทักทายเมื่อแรกพบกัน คำนี้พระยาอุปกิตศิลปสาร
(นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้เริ่มนำมาใช้ครั้งแรกในปี ๒๔๗๖
ขณะที่เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทดลองใช้ในหมู่นิสิตก่อน อีก ๑๒ ปีต่อมาเป็นยุคชาตินิยม จอมพล ป.
พิบูลสงคราม จึงนำมาใช้อย่างเป็นทางการ
“สวัสดี” มาจากภาษาบาลีว่า “โสตฺถิ” และจากภาษาสันสกฤตว่า “สฺวสฺติ” ทั้งสองคำนี้ใช้ในวรรณคดีไทยและในบทสวดมนต์มานานแล้ว
คำว่า “สวัสดี” ตรงกับทั้ง “Good
Morning”, “Good Afternoon”, “Good Day” และ “Good Night” ในภาษาอังกฤษ แต่เราไม่มีคำว่า “สวัสดีตอนเช้า”,“สวัสดีตอนบ่าย”หรือ “สวัสดีตอนค่ำ”
ใช้คำว่า “สวัสดี” ทักทายกันได้ตลอดวัน
ส่วนคำว่า “อรุณสวัสดิ์” และ “สายัณห์สวัสดิ์” นั้น เป็นภาษาเขียนหรือภาษาวรรณคดี
อันที่จริงคนไทยยังมีคำทักทายอย่างอื่น ๆ อีก เช่น เมื่อผู้ชายพบเพื่อนผู้ชายที่สนิทสนมกันก็จะทักว่า “เฮ้ย เป็นไง(วะ)”, “เฮ้ย เป็นไง ไปไหนมา/สบายดีเหรอ
(วะ)” ถ้าเป็นผู้หญิง ก็จะตัดคำว่า “เฮ้ย”
กับ “วะ” ออกไป
ส่วนคำทักทายว่า “สวัสดี” มักจะใช้กันอย่างเป็นทางการ.
ชุดประจำชาติของประเทศไทย
สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"
สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน
โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักรพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย
สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"
สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน
โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักรพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย

ชุดไทยพระราชนิยม และเสื้อพระราชทาน - ประเทศไทย
สถานที่ท่องเที่ยวมีดังนี้
ภาคเหนือ
ดอยตุง เป็นภูเขาลูกหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มดอยสามเส้า ซึ่งมีภูเขาสำคัญๆ ได้แก่ ดอยปู่เจ้า ดอยย่าเจ้า (ย่าเฒ่า) ดอยดินแดง นอกจากนี้มีดอยบริวารอีกเช่น ดอยทา ดอยเกตุบรรพต และดอยตายสะ ปัจจุบันเรียกรวมๆ กันว่า ดอยตุง (ดอยทุง หรือดอยธง) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแดนลาวบริเวณอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๕๐๐-๑๗๕๐ เมตร สิ่งดึงดูดใจ วัดพระธาตุดอยตุงมีเจดีย์บรรจุพระมหาชินธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย พระตำหนักของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าอะข่า ลาหู่ ลีซอ กระเหรี่ยง ฯลฯ

กว๊านพะเยา : จังหวัด พะเยา
กว๊านพะเยาเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา กว้านเป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง บึง มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒,๘๓๑ ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ รวมทั้งปลานิลที่มีชื่อเสียง
สิ่งอำนวยความสะดวกในกว๊านพะเยามีจักรยานน้ำ และทางเทศบาลเมืองพะเยาได้จัดสวนหย่อม สวนหิน ปลูกดอกไม้สวยงามไว้บริการนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะชมทัศนียภาพกว๊านพะเยา นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารไว้บริการเป็นจำนวนมาก

ภาคใต้
อาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทรอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล อุดมไปด้วยปะการังหลากหลายชนิด ดอกไม้ทะเลฝูงปลาน้อยใหญ่ เป็นสังคมแห่งโลกใต้ผืนน้ำอันงดงาม เกาะพีพีเป็นเกาะภูเขาหินปูน บางเกาะมีอ่าวที่มีเขาสูงโอบล้อมอยู่เกือบรอบจนเกือบเป็นทะเลใน เช่นที่อ่าวมาหยาเกาะพีพีดอนมีความสวยงามติดอันดับต้นๆของโลก ชายหาดของทุกเกาะสวยงาม ทรายขาวน้ำทะเลใส สีสันที่สวยงามของปะการัง ใต้ทะเลที่มีชีวิตชีวาเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวได้พบ จากหลายๆกิจกรรมการท่องเที่ยวยอดนิยมทั้งการชมวิว พักผ่อน เล่นน้ำ ดำน้ำทั้งตื้นและลึก พายเรือแคนู/คายัคมากมายจนนักเดินทางทั้งหลายไม่อาจท่องเที่ยวอย่างทั่วถึงในการมาเพียงครั้งเดียว และตั้งใจที่จะมาอีกครั้งหรือหลายๆครั้งกันเลยทีเดียว
เกาะมุก : จังหวัด ตรัง
ชื่อของ เกาะมุก อาจไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ถ้าเอ่ยถึง ถ้ำมรกต ทุกคนจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ถ้ำมรกตเป็นเป้าหมายของนักเดินทางที่มายังท้องทะเลตรัง เป็นถ้ำทะเลที่มีความงดงามตระการตาอย่างมาก จากปากทางเข้าถ้ำซึ่งเป็นโพรงเล็กๆ ช่วงเวลาน้ำลดโพรงนี้จะสูงพ้นระดับน้ำพอเรือลอดได้ แต่หากช่วงน้ำมากอาจจะต้องว่ายน้ำเข้าไป บริเวณปากทางเข้าถ้ำแสงจากภายนอกจะสะท้อนกับน้ำทะเลในถ้ำ ทำให้เห็นเป็นสีเขียวมรกต สวยงาม แปลกตา ประหนึ่งจิตรกรรมแห่งธรรมชาติที่ได้บรรจงสร้างให้มวลมนุษย์ได้ชื่นชม เมื่อถึงอีกด้านหนึ่งของถ้ำเป็นหาดทรายขาวสะอาดน้ำใสน่าเล่น ล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงชัน เกาะมุกมิใช่มีเพียงถ้ำมรกตเท่านั้น แต่ทางด้านฝั่งตะวันออกยังมีชายหาดที่สวยงาม บริเวณแหลมๆ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนบ้านเกาะมุก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง ด้านซ้ายและขวาของหัวแหลมคือหาดหัวแหลม และ อ่าวพังงา มีหาดทรายขาวละเอียดสวยงาม
สิมิลัน : จังหวัดพังงา
สิมิลัน คำนี้ในภาษายาวีแปลว่า"เก้า"หมู่เกาะสิมิลันจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหมู่เกาะเก้าเพราะประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ 9 เกาะเรียงตัวตามแนวเหนือ - ใต้กลางทะเลอันดามันเป็นหมู่เกาะที่ได้รับการการยกย่องถึงความเป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลกได้รับการยอมรับว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำจากภูมิทัศน์ที่งดงามของเขาหินที่ปกคลุมด้วยแมกไม้เขียวขจีหาดทรายขาวเม็ดทรายละเอียด น้ำทะเลสีฟ้าใส มองผ่านผิวน้ำเห็นแนวปะการังน้ำตื้นอันสวยงามลึกลงใต้ผืนน้ำคือโลกใต้ทะเลที่งดงามสร้างความประทับใจแก่นักดำน้ำด้วยหมู่ปะการังหลากสีหลายชนิด ทั้งปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และดอกไม้ทะเลเป็นที่อาศัยของฝูงปลาน้อยใหญ่มากมาย ตั้งแต่ปลาการ์ตูน ปลาสลิดหินปลาไหลทะเล ปลาสาก ปลาฉลาม ไปจนถึงกระเบนราหูและเต่าทะเลจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติประกอบกับความใสของน้ำทะเลทำให้มีทัศนวิสัยในการดำน้ำลึกที่ดีมากโลกใต้ทะเลแห่งนี้จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและมาอีกครั้งด้วยเสน่ห์แห่ง
ภาคอีสาน
ภูกระดึง
เมื่อเอ่ยถึงภูเขา สิ่งที่ไปกันได้ดีก็คือเรื่องของการท่องเที่ยว เพราะบนภูเขามีสิ่งดึงดูดความสนใจให้ขึ้นไปเที่ยวชมมากมาย อย่างพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ป่าใหญ่ๆ ดอกไม้ป่างามๆ น้ำตกบึ้มๆ หน้าผาและจุดชมวิวสวยๆ ไม่เพียงเท่านั้นอุณหภูมิบนภูเขาทั้งกลางวันกลางคืนก็หนาวเย็น สร้างบรรยากาศโรแมนติก ชวนให้เบียดกายใกล้ชิดสนิดแนบ เหมาะแก่การพาคู่รักหรือเพื่อนร่วมใจไปสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศ ภูเขาจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตติดอันดับของผู้คนทั่วโลก
แนวทิวเขาของอีสานประกอบไปด้วยแนวทิวขาเพชรบูรณ์และแนวทิวเขาดงพญาเย็น ที่เป็นเสมือนสันกั้นพรมแดนระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน จากที่ราบลุ่มภาคกลางจะขึ้นสู่ที่ราบสูงอีสานก็ต้องทะลุแนวภูเขานี้ขึ้นไปทั้งสิ้น ต่ำลงมาประชิดกับภาคตะวันออกชายฝั่งทะเล คือเทือกเขาสันกำแพง ที่ด้านหนึ่งเป็นจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว กับอีกด้านหนึ่งก็คือพื้นที่อำเภอโนนสูง เสิงสาง และครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ทิวเขานี้ยังเชื่อมโยงต่อไปถึงพนมดงรัก ซึ่งเป็นแนวกั้นอีสานกับดินแดนกัมพูชาและ สปป. ลาว และทั้งหมดนี้ก็คือ แนวภูเขาที่กั้นอีสานออกเป็นเอกเทศ แทบจะเป็นที่ราบกลมๆ บนที่สูง จากอีสานจะลงมาภาคกลางหรือไปภาคเหนือ อย่างไรเสียก็ต้องเจอภูเขา จะไปตามทางราบๆ ตลอดไม่ได้
นอกจากนี้ อีสานยังมีแนวเทือกเขาภูพานที่เป็นเส้นตัดขวางแบ่งกั้นให้เกิดเป็นอีสานเหนือ คือ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และเลย และอีสานใต้ที่มีอยู่อีกมากมายหลายจังหวัด ทั้งหมดเสมือนถูกตัดแยกออกจากกันอย่างเด่าชัดด้วยเทือกเขาภูพานแห่งนี้
และในบรรดาเทือกภูเขาสูงอีสานหลากหลายนี้ เทือกเขาเพชรบูรณ์ดูจะเป็นเทือกเขาที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุด ก่อให้เกิดภูเขาย่อยๆ ที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีความหลากหลายของสรรพชีวิตสวยงามมากมายหลายแห่ง และหากจะกล่าวกันถึงเรื่องท่องเที่ยวแล้ว ก็เชื่อแน่ว่าไม่มีใครปฏิเสธ หากจะยกตำแหน่งสุดยอดภูเขาท่องเที่ยวให้กับภูกระดึง แห่งเทือกเขาเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย
ภูกระดึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเก่าแก่ที่ไม่เคยเสื่อมคลายมนตร์ขลัง เพราะที่นี่มีทุกๆ อย่างที่นักท่องเที่ยวต้องการ จุดเด่นของภูกระดึงคือความสวยงามของภูเขา สายหมอกหน้าผา พรรณไม้ และสัตว์ป่า กล่าวกันว่า ถ้านักท่องเที่ยวจะเริ่มต้นออกเดินทางท่องธรรมชาติ ภูกระดึงจะเป็นเสมือนโรงเรียนประถมต้นของการท่องเที่ยวภูเขากันเลยที่เดียว
แม่น้ำโขง ชี มูน
แม่น้ำโขง คือสุดยอดแม่น้ำของอีสาน ข้อนี้คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ไหลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกในภาคเหนือที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นระยะทางสั้นๆ ก่อนจะออกจากประเทสไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเดียวกัน จากนั้นแม่น้ำโขงจึงไหลกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งในแผ่นดินอีสาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จากเชียงคาน แม่น้ำโขงก่อให้เกิดหาดทราบ โขดหิน และเกาะแก่งที่สวยงามมากมายหลากหลาย โดยเฉพาะที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย มีที่พักและรีสอร์ตมากหลายได้รับการจัดสร้างขึ้นไว้รองรับนักท่องเที่ยวผู้มาชมความสวยงามของแม่น้ำโขงที่นี่
สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 เป็นสะพานนานาชาติแห่งแรกที่พาดข้ามไปบนแม่น้ำสายนี้ เชื่อมมิตรภาพสองฝั่งโขง ร้อยใจลาว-ไทยน้องพี่เข้าด้วยกัน จากสะพานมิตรภาพๆ แม่น้ำโขงก็ขยายตัวกว้างใหญ่ ทอดผ่านเมืองสองฟากฝั่งที่ล้วนเป็นเมืองสำคัญของสองประเทส เช่น เมืองบึงกาฬ เมืองบอลิคัน เมืองนครพนม และเมืองท่าแขก จนมาพบกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่2 จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นแม่น้ำโขงก็ไหลต่อลงไปผ่านเมืองเขมราฐ ก่อให้เกิดแก่งหินที่สวยงามขึ้นอีกหลายชุดก่อนจะไปสุดท้ายออกจากประเทสไทยที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ระหว่างทางเดินของแม่น้ำโขงได้ก่อให้เกิดสิ่งดีๆ มากหลาย ประชาชนสองฟากฝั่งใช้แม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินด้านการเกษตรมากมาย ที่หน้าเมืองนครพนมและเมืองเวียงจันทน์เกิดเป็นหาดทรายกว้างใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของทั้งสองประเทศ งานเทศกาลประเพณีที่เกี่ยวข้องกัยการท่องเที่ยว เช่น ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีไหลเรือไฟ และปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้น ก่อให้เกิดการทางท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง
แม่น้ำมูน เป็นแม่น้ำสายกว้างใหญ่และยาวที่สุดในอีสาน เกิดขึ้นจากแนวทิวเขาสันกำแพงบางส่วน และทิวเขาพนมดงรักอีกบางส่วน แม่น้ำมูนไหลลงไปกลายเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำโขง ตรงจุดที่แม่น้ำมูนไหลลงแม่น้ำโขงเรียกว่าแม่น้ำสองสี เมืองโขงเจียม
ส่วน แม่น้ำชี ต้นกำเนิดคือแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ แล้วไหลผ่านไปยังที่ราบตอนกลางของภาคอีสาน จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร แล้วไหลมาลงยังแม่น้ำมูนที่จังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากนั้นจึงรวมกันไหลลงแม่น้ำโขงที่ปากมูลอีกต่อหนึ่ง
ภาคกลาง
วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ฉะเชิงเทรา หรือแปดริ้ว นามแปดริ้วแห่งลุ่มน้ำบางปะกงแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของฉะเชิงเทราได้เป็นอย่างดี ด้วยความที่มีปลาช่อนขนาดใหญ่ชุกชุม ซึ่งสามารถแล่ได้ถึง 8 ริ้วด้วยกัน
ฉะเชิงเทรามีเรื่องเล่าขานมาแต่อดีตและยังคงปรากฏหลักฐานให้ลูกหลานได้ศึกษา ผู้คนส่วนใหญ่มักตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงและลำคลองต่างๆ มีผืนป่าใหญ่อันสมบูรณ์กั้นระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออก
วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ "หลวงพ่อโสธร" อันเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวแปดริ้วและพุทธศาสนิกชนทั่วไป
วัดม่วง : จังหวัดอ่างทอง
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวตะพาน อยู่ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ ๘ กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ (ทางหลวงหมายเลข ๓๑๙๕) ภายในวัดมีสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น พระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกลีบบัวสีชมพู ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วิหารแก้ว ชั้นล่าง เป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุมงคลและวัตถุโบราณ ชั้นบน ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เนื้อเงินแท้ องค์แรกองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่ครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
จังหวัดอ่างทอง ขุมทรัพย์มีค่าแห่งที่ราบลุ่มภาคกลาง ทรงคุณค่าด้วยงานหัตถกรรมพื้นถิ่นไม่ว่าจะเป็นงานปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำกลอง การทำอิฐดินเผา หรือการผลิตเครื่องจักสาน นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยวัดที่มีความสะอาดสวยงามและมีจุดเด่นที่น่าสนใจมากมายกว่า 200 วัด อันเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทย
รอยพระพุทธบาท : จังหวัด สระบุรี
จังหวัดสระบุรี ประดิษฐาน ณ ไหล่เขาสุวรรณพรรพต หรือ เรียกว่า เขาสัจจพันธคีรี ค้นพบในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนายพรานบุญ ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงสถาปนายกที่พระพุทธบาทขึ้นเป็น "พระมหาเจดีย์สถาน" โปรดให้สร้าง มณฑปยอดเดียว สวมครอบรอยพระพุทธบาท และ สร้างปูชนียวัตถุต่างๆ ในทุกๆ ปีจะมีงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท โดยจัดปีละ 2 ครั้งคือ ตั้งแต่วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 และตั้งแต่วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4
สระบุรี ประตูเชื่อมโยงภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยศักยภาrด้านการท่องเที่ยวมากมาย สัมผัสดินแดนแห่ง "คาวบอยเมืองไทย" วิถีชีวิตแบบคาวบอย อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสระบุรี ที่ไม่อาจหาได้จากที่ไหนในเมืองไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น