อินโดนีเซีย


ประเทศอินโดนีเซีย



ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
- หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
- หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
- หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
* ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโลบัมบัง ยูโดโยโน (SusiloBambangYudhoyono)
(ตุลาคม 2547)
ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (TelukBeskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย

มังกรโคโมโด เป็นสัตว์ประจำชาติของอินโดนีเซีย พวกเขาเป็นกิ้งก่าที่ใหญ่ที่สุดและหนักบนโลก พวกเขาจะพบกับโคโมโดเกาะในอินโดนีเซีย


ภาษาราชการประเทศอินโดนีเซีย


ภาษาอินโดนีเซีย  เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และ เป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด การเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซียเป็นประสบการณ์ที่ให้ผลตอบแทนแก่ชาวต่างชาติ เนื่องจากการออกเสียงและไวยากรณ์ค่อนข้างเรียบง่าย ความรู้เบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารประจำวันสามารถเรียนรู้ได้ในไม่กี่สัปดาห์ ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอกาส

สถานที่ท่องเที่ยว
วัดบุโรพุทโธ (Borobudur)
วัดบุโรพุทโธ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างออกไป 40 กิโลเมตร ของเมืองยอร์กยาการ์ตา บนเกาะชวา ถูกนับว่าเป็นวัดแห่งศาสนาพุทธที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งวัดแห่งนี้ใช้เวลาในการสร้างประมาณ 75 ปี สร้างขึ้นในช่วงประมาณศตวรรษที่ 8 และ 9 ในอาณาจักรไศเลนทรา โดยใช้อิฐบล็อคประมาณ 2 ล้านก้อน สร้างสถานที่ศักสิทธิ์แห่งนี้ขึ้นมาจนมีขนาดใหญ่มหึมา หลังจากนั้นไม่นาน วัดบุโรพุทโธ ก็ถูกทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแล ในศตวรรษที่ 14 ด้วยเหตุใดก็ยังเป็นปริศนาอยู่ และจากนั้นวัดแห่งนี้ก็ถูกซ่อนอยู่ภายใต้ชั้นขี้เถ้าภูเขาไฟมานับร้อยปี



ดอกไม้ประจำชาติ

ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsisเป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


ธงชาติ

รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ซังเมราห์ปูติห์” (“Sang MerahPutih”, สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
  • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

อาหาร  (Indonesia) : กาโด กาโด (GadoGado)



สถานที่ท่องเที่ยว

เกาะบาหลี (Bali)
            คงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ เกาะบาหลี เกาะที่ได้รับความนิยมสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก และได้รับรางวัลในด้านการท่องเที่ยวมาโดยตลอด อาจเพราะภูมิประเทศที่มีความงดงามความหลากหลาย ทั้งชายฝั่งทะเล ชายหาดในเขตร้อนชื้น นาข้าวที่เขียวชะอุ่มลาดไปตามทางเป็นขั้น และภูเขาไฟตามไหล่เขา ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ได้สรรค์สร้างทัศนียภาพที่มีฉากหลังอันเป็นสีสันแห่งความงดงาม จิตวิญญาณที่แสนลึกซึ้งและความเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมฮินดู มากไปกว่านั้นผู้คนในประเทศยังมีความเป็นกันเองต่อแขกผู้มาเยือน
             แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยือนที่นี่ ก็เพราะมีชายหาดที่เหมาะกับการเล่นเสิร์ฟ ดำน้ำ และดื่มดำไปกับท้องทะเลอันสวยงามของทีนี้ จนคุณลืมคิดถึงบ้านกันเลยล่ะ

 

อุทยานแห่งชาติโคโมโด (Komodo National Park)
                 อุทยานแห่งชาติโคโมโด ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ เกาะ คือ เกาะโคโมโด เกาะริงกา และเกาะปาดาร์ และยังมีเกาะเล็ก ๆ อีก 26  เกาะ ซึ่งชื่อของเกาะนั้นตั้งตามชื่อมังกรโคโมโด สัตว์เลื้อยคลานที่ใหญ่ที่สุดอาศัยอยู่ โดยที่เจ้ามังกรนี้สามารถตัวใหญ่ได้ถึง เมตร หรืออาจยาวมากกว่านั้น และมีน้ำหนักมากกว่า 70 กิโลกรัม แม้ว่ามันจะกินซากศพของสัตว์ที่ตายแล้วก็ตาม แต่พวกมันก็ยังได้ชื่อว่าเป็นยอดนักล่าที่น่าเกรงขาม และยังคงล่าเหยื่ออย่างนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ไม่ค่อยโจมตีมนุษย์สักเท่าไหร่

 

เกาะกีลี (Gili Islands)
          สำหรับ เกาะกีลี เป็นแหล่งพักผ่อนอีกแห่ง ที่นักท่องเที่ยวนิยมมา โดยเป็นเกาะที่มีหมู่เกาะขนาดเล็กอีก เกาะ คือเกาะทราวานกัน เกาะกีลี เมโน และเกาะกีลี แอร์ หมู่เกาะแห่งนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผ่อนคลาย เอนตัวลงนอนพักผ่อนริมหาดทรายขาวนวล และเพลิดเพลินไปกับคาเฟ่ริมหาดที่เล่นดนตรีเร็กเก้คลอเคล้า โดยที่ไม่มีเสียงรถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์มารบกวนช่วงเวลาแห่งความสุขแน่นอน

 

โทราจาแลนด์ (Torajaland)
          โทราจาแลนด์ เป็นพื้นที่เขตบริเวณที่สูงทางตอนใต้ของเกาะสุลาเวสี ซึ่งเป็นบ้านของชาวโทราจา และในโทราจาแลนด์นี่เองมีบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ แถมยังเป็นที่เตะตาแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก คือหลังคาบ้านจะมีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นมุมแหลม ด้าน เว้าตรงกลางลงมา เป็นที่รู้จักกันในนาม ทองโคนัน (Tongkonan) แต่ความสวยก็ปนมากับความสยอง เพราะบ้านหลังนี้เอาไว้เก็บศพเพื่อทำพิธี หลังจากที่คนตายแล้วก็จะนำร่างมาเก็บไว้ในบ้านนี้อยู่หลายวัน จนกว่าจะถึงพิธีศพ และคนตายก็จะถูกฝังที่รังเล็ก ๆ ในโพรงต้นไม้

 

บูนาเคน (Bunaken)
          บูนาเคน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของผู้รักท้องทะเลอย่างแท้จริง เพราะเป็นบริเวณที่เหมาะกับการดำน้ำมากที่สุดในอินโดนิเซีย เกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานทางทะเลของบูนาเคน ที่ซึ่งคุณจะได้เห็นเหล่าปลาชนิดต่าง ๆ มากมายกว่า 70 สายพันธ์ที่อาศัยอยู่ทางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก โดยที่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการไปดำน้ำที่บูนาเคน คือ ช่วงเดือนเมษายน และเดือนพฤศจิกายน

 

ภูเขาไฟโบรโม (Mount Bromo)
          ภูเขาไฟโบรโม อยู่ในเทือกเขาเทงเกอร์ ในทางตะวันออกของเกาะชวา ซึ่งปัจจุบันภูเขาไฟแห่งนี้ยังคุกรุ่นอยู่ โดยปล่องภูเขาไฟมีความสูงอยู่ที่ 2,329เมตร แม้ภูเขาแห่งนี้จะไม่ใช่ลูกที่สูงที่สุด แต่ก็เป็นภูเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอีกแห่ง

 

อุทยานทันจัง พูทิง (Tanjung Puting)
          อุทยานทันจัง พูทิง ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว จังหวัดกาลิมันตัน ในอินโดนิเซีย และเป็นอุทยานที่ได้รับความนิยมจากบรรดาบริษัททัวร์ท้องถิ่นทั้งหลาย ที่นำเสนอทัวร์เดินทางชมโดยเรือ เพื่อชื่นชมชีวิตของสัตว์ป่าและเข้าชมศูนย์วิจัยต่าง ๆ แต่สิ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดของทีนี้ก็คือ เจ้าลิงอุรังอุตัง ที่นักท่องเที่ยวมักจะแห่เข้ามาชมความน่ารักของมันเป็นประจำ

 

ทะเลสาบโทบา (Lake Toba)
          ทะเลสาบโทบา ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา เป็นทะเลสาบที่เกิดในบริเวณปากปล่องภูเขาไฟ มีระยะทางยาวถึง 100 กิโลเมตร และกว้าง 30 กิโลเมตร โดยทะเลสาบโทบาเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่มีความแรงสูงมากระเบิด เมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน กล่าวได้ว่าเป็นปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เกิดทะเลสาบสีฟ้าครามแห่งนี้ขึ้นมา ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะชอบมาว่ายน้ำเล่นกันที่ทะเลสาบแห่งนี้

 

วัดพรัมบานัน (Prambanan Temple)
          วัดพรัมบานัน หรือเป็นที่รู้จักสำหรับคนท้องถิ่นว่า โรโร จองกรัง (Roro Jonggrang) ถือว่าเป็น ในวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่จะมีแท่นบูชาหลัก ที่ ซึ่งอุทิศให้แก่ เทพเจ้าฮินดู องค์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะและ พระวิษณุ สำหรับผู้มาเยี่ยมชมและนักท่องเที่ยวทั้งหลายนั้นจะได้รับอนุญาตให้เข้าชมเป็นบางส่วนเท่านั้น เพราะบางส่วนได้รับความเสียหายจากในอดีต แต่ที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง คือการชมพระอาทิตย์ขึ้นบริเวณหลังวัดแห่งนี้ เวลาประมาณตี ที่เหมาะที่สุดในการชม

 
เกาะสุลาเวสี (Sulawesi)
          ชื่อเดิมหรือชื่อที่เป็นที่เรียกกันส่วนใหญ่ของ เกาะสุลาเวสี นี้คือ "เกาะกล้วยไม้" เกาะแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างเกาะบอร์เนียวและเกาะมาลูกู ชาวเมืองสุลาเวสีขึ้นชื่อลือชาในเรื่องความสามารถทางด้านงานศิลปะต่าง ๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้าและการเต้นรำ และเรื่องที่พวกเขาทำได้อย่างยอดเยี่ยมมากคือ การทอผ้าที่ต้องอาศัยความประณีตมาก ทั้งหมดนี่คือเสน่ห์ที่ทำให้ใคร ๆ ต่างก็อยากไปสัมผัสเกาะสุลาเวสี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น