มาเลเซีย (มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือมาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันออก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว
มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
การเมือง
ในปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ ประกอบไปด้วย
เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง
มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีการปกครองในรูปแบบคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี
การแบ่งเขตการปกครอง
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal
territories - wilayah-wilayah
persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง
เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง
เศรษฐกิจ
เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก
และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่
แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
การทำป่าไม้
ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รองจากอินโดนีเซีย
อุตสาหกรรม
ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)ประเทศมาเลเซียด้านเศรษฐกิจนั้นเชื่อว่า
มาเลเซียจะพาอาเซียนไปสู่ยุคเจริญรุ่งเรืองได้ไม่ยาก
ประชากร
ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ
ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ
50.4 เป็นชาวภูมิบุตร(Bumiputra)
คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง
ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ
11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น
ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู
แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก
(ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ
30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์
(ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ
18 และชาวบาเจาร้อยละ 17) [1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง
คือ โอรัง อัสลี
ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่
โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ
23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1
ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น
อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชราต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ
มีคนเชื้อสายชวาและมีนังกาเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์
ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่น
ๆ อย่าง ฮอลันดาและอังกฤษ ส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ
(จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง
วัฒธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมะละกา
ประชากรร้อยละ 61.3 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19.8 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 9.2 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 6.3 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และความเชื่อดั้งเดิมอื่น ๆ ของจีน[2] แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้
มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ
ได้รับเงินอุดหนุนเรื่องค่าครองชีพตามนโยบายภูมิบุตรของรัฐบาล
ดอกไม้ประจำมาเลเซีย
ดอกชบา
สถานที่ท่องเที่ยว
ตึกเปโตรนาส (Petronas Twin Tower)
เป็นตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงถึง 452 เมตร มีชั้นทั้งหมด 88 ชั้น โดยทางการใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของตึกนี้เป็นเจ้าของผู้ผลิตน้ำมันยี่ห้อเปโตรนาส ชื่อเดียวกับตึกนั่นเอง การออกแบบตึกได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของเสาหินทั้ง 5ของอิสลาม นอกจากความสวยงามและความสูงของตึก ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงแล้ว ภายในตึกยังเป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี บันเทิงและแหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่อีกด้วย
จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square)
บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นธงชาติประจำชาติมาเลเซีย ที่ได้รับการชักขึ้นสู่ยอดเสา ความสูงของยอดโดมมีขนาดเท่ากับ40 เมตร และหอนาฬิกาที่ตั้งตระหง่านอวดความสวยงามของตัวตึกและในเวลากลางคืน จะมีการติดไฟระยิบระยับเต็มไปหมด ยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับอาคารแห่งนี้
กัวลาลัมเปอร์ ทาวเวอร์ (Menara Kuala Lumpur
)

ตั้งอยู่บนยอดเขาบูกิตนานาส เป็นหอคอยที่มีความสูงเป็นอันดับ 4ของโลก รองจากที่แคนาดา รัสเซีย และจีน มีความสูงถึง 421 เมตร โดยใช้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ และใช้ระบบสื่อสารไฮเทคต่างๆ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนหย่อมขนาดใหญ่มีต้นไม้ใหญ่อายุ100 ปี มีชื่อว่า ต้นเจลลิตง
ปุตราจายา(Putrajaya)
อยู่ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 นาที ห่างจากสนามบินนานาชาติไปไม่ไกลนัก บนพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลครอบคลุมพื้นที่เข้าทั้งลูก ถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองใหม่ เป็นที่อยู่ของหน่วยราชการ ทุกกกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งรัฐสภา และบ้านของนายกฯ โดยรอบปุตราจายาจะเป็นพื้นที่บ้านจัดสรรที่สวยงามและคอนโดมีเนียมที่เป็นตึกสูง
เกนติ้ง ไฮแลนด์ (Genting Highlands)
เมืองที่ได้รับสมญานามว่า "เมืองแห่งความบันเทิง" นับเป็นเมืองที่เหมาะกับทุกครอบครัว และทุกงบประมาณการท่องเที่ยว ยอดเขาเกนติ้ง ไฮแลนด์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 6,000ฟุต จึงมีอากาศเย็นสบาย บรรยากาศสดชื่น พร้อมทิวทัศน์ของเทือกเขาเขียวขจี ที่สวยงามราวกับภาพวาด
อนุสาวรีย์แห่งชาติ (National Monument)
ซึ่งจัดว่าเป็นอนุสาวรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นการสร้างแบบลอยตัว โดยการหลอมรูปปั้นด้วยบรอนซ์ จากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่กว่าคนจริงหลายเท่า ที่มาของอนุสาวรีย์ มาจากในช่วงสมัยหนึ่งเกิดกลุ่มจีนคอมมิวนิสต์กระจัดกระจายทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี ในการปราบโจรและเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้กล้าหาญ
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
ดูโออ่าอลังการด้วยสถาปัตยกรรมแบบมาเลย์ดั้งเดิมหรือสถาปัตยกรรมแบบมีนังกะเบาอันมีเอกลักษณ์ ด้านนอกอาคารจำลองแบบพระราชวังมาเลย์โบราณมาให้ชม พร้อมการจัดแสดงเกี่ยวกับยานพาหนะตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเกวียน รถลาก รถสามล้อ มาจนถึงรถยนต์ยี่ห้อโปรตอนที่ชาวมาเลย์ผลิตใช้เองในประเทศ ส่วยภายในเป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมาเลเซีย การแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ หัตถกรรม เงินตรา อาวุธ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกมาเลเซียในฉบับย่อและกะทัดรัดได้ดี
อาคารสุลต่านอับดุลซามัค (Sultan Abdul Samad Building) และ หอนาฬิกา สูง 40 เมตร
อาคารเก่าแถบ Merdeka Square สถาปัตยกรรม แบบ มัวร์ (Moorish)ส่วนที่เป็นหอนาฬิกาสูง40 เมตร ที่เรียกกันว่า เป็นบิ๊กเบนของมาเลเซีย ด้านบนเป็นโดมใหญ่สีทองขนาดใหญ่ และขนาบข้างด้วยอาคารยอดโดมสีทองเช่นกัน อาคารนี้ สร้างเมื่อเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อใช้เป็นศูนย์บริหาร อาณานิคมของอังกฤษ ปัจจุบันใช้อาคารที่ทำการของรัฐบาล
อาหาร
นาซิ เลอมัก - ประเทศมาเลเซีย
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์
และภาคใต้ของไทยด้วย

ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย
สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว
สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

บาจู มลายู - ประเทศมาเลเซีย

บาจูกุรุง - ประเทศมาเลเซีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น