บรูไน

ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
Brunei Darussalam


ชื่อทางการ   

เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)

ที่ตั้ง
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย 
โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้

พื้นที่
5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong

เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara

ประชากร
374,577 คน (2550) เชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%)
อัตราการเพิ่มประชากรปีละ 3.5 % (2550)

ภูมิอากาศ  
ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม
และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ภาษา
ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย

ศาสนา
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%)
และฮินดู

หน่วยเงินตรา
ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน/1 ดอลลาร์สหรัฐ (1)หรือ ประมาณ
23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (2) (บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไนมี
มูลค่า
เท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ
23.95บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์)

GDP
GDP *18,918 ล้านดอลลาร์บรูไน (2549)  
GDP per capita 49,400 ดอลลาร์บรูไน (2549)
GDP Growthร้อยละ 3.8





ระบอบการปกครอง

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์
(His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ
องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ
62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ

วันสำคัญ

วันประกาศอิสรภาพ 1 มกราคม ..2527
วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชาธิบดีฯ 15 กรกฎาคม


การเมืองการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลังอีกด้วย
 ทั้งนี้
นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนฯ เชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิดและจะต้องนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่
- ปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียวคือ พรรค Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei
(PPKB) ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลแต่ไม่มีบทบาทนัก โดยรัฐบาลบรูไน ฯ เห็นว่าไม่มีความจำเป็น
ต้องมีพรรคการเมือง
เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสมเด็จพระราชาธิบดีได้อยู่แลัว
- ในปี 2547 มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศให้ฟื้นฟูสภานิติบัญญัติขึ้นอีกครั้ง
นำไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยของบรูไนฯซึ่งพัฒนาการดังกล่าว
ได้รับการตอบรับที่ดีจากต่างประเทศ นักวิชาการ รวมทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ยังเคลื่อนไหวอยู่
- ในปี 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงประกาศปรับคณะรัฐมนตรีครั้งสำคัญในรอบ 22 ปี โดยทรงแต่งตั้งมกุฎราชกุมารอัล
มูห์ทาดี บิลลาห์ ให้ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวทางการสืบทอดอำนาจ
ในการบริหารประเทศในอนาคต นอกจากนี้ ได้
มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีโดยได้เปิดโอกาสให้นักธุรกิจที่มีความชำนาญและ
ผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงให้ความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคพลังงาน รวมทั้งการพัฒนประเทศให้เป็นมุสลิมสายกลางมากขึ้นเพื่อให้บรูไนฯ
มีความเจริญทัดเทียมนานาประเทศ
ปัจจุบันรัฐบาลของประเทศบรูไนประกอบได้ด้วย 12 กระทรวง คือ
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงศาสนา
กระทรวงการพัฒนา
กระทรวงวัฒนธรรม เยาวชนและกีฬา
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงคมนาคม


การท่องเที่ยว

 เมื่อปี 2548 มีนักท่องเที่ยวจากบรูไน ฯ เดินทางมาไทยจำนวน 9,499 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 (9,345 คน) ร้อยละ 1.65 ทั้งนี้ แม้ว่านักท่องเที่ยวบรูไน ฯ จะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยจำนวนไม่มากนัก แต่ก็เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายสูงและมีศักยภาพที่จะเพิ่มจำนวนอีกได้ ทั้งที่เป็นลูกค้าประจำและผู้ที่นิยมสายการบินไทย


เศรษฐกิจการค้า

-บรูไนฯเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามในภูมิภาคอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก จึงมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่นอออสเตรเลียจีนอินเดียสิงคโปร์ไทย และเกาหลีใต้ในขณะเดียวกันบรูไนฯนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคอาหาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรมรถยนต์เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าจากสิงคโปร์ อังกฤษ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
- นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมัน บรูไนฯ ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก อาทิ อุตสาหกรรมฮาลาล โดยรัฐบาลได้เปิดตัวโครงการBrunei Premium Halal Brand ขึ้น ภายใต้ความร่วมมือกับภาคเอกชนออสเตรเลียเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าและอาหารฮาลาลบรูไนฯ สู่ตลาดสากล นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมีจุดขายอยู่ที่การเป็นประเทศที่มีความสงบและปลอดภัย และมีนโยบายจะพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003Vision) และการรักษาพยาบาล
แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 9 รัฐบาลจะเน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าซึ่งปัจจุบันบรูไนฯสามารถสร้างโรงงานผลิตเมทานอลขึ้นที่เขตอุตสาหกรรมSungaiLiang นอกจากนี้รัฐบาลพยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนภายในประเทศ ในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
  - ปัจจุบัน บรูไน ฯ กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลักไปสู่โครงสร้าเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น มีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศ
ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่าง
ประเทศ  อย่างไรก็ดี การพัฒนายังเป็นไปย่างล่าช้า เนื่องจากอุปสรรคหลายประการอาทิ กฎระเบียบที่เคร่งครัดต่างๆการห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ การขาดช่างฝีมือประกอบกับคนบรูไนฯ ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบใหม่และระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างชาติ


ดอกไม้ประเทศบรูไน



  ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย


อาหารยอดนิยมของบรูไน



อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดีที่สุด




คำทักทายประเทศบรูไน
ชื่อภาษาท้องถิ่น เนการาบรูไนดารุสซาลาม
คำทักทาย  - ซาลามัต ดาตัง  
  
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศบรูไนดารุสซาลาม
เมืองบินบันดาร์ เสรี เบกาวัน


         เมืองบินบันดาร์ เสรี เบกาวัน เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน
          ปัจจุบันกรุงบันดาเสรีเบกาวันเป็นศูนย์กลางการเงินธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และ กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไ

พิพิธภัณฑ์โรยัลเรกกาเลีย





      พิพิธภัณฑ์โรยัลเรกกาเลีย พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับการโหวตจากประเทศ ในอาเชี่ยนว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าชมที่สุด เป็นที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของสุลต่านองค์ปัจจุบัน อาทิ เครื่องทรงทองคำ ในวันขึ้นครองราชย์และเครื่องบรรณาการจากผู้นำประเทศต่าง ๆ ชมมงกุฏทองคำ บัลลังก์ทองคำ เครื่องทรงทองคำ รวมทั้งเครื่องราชย์มากมายที่พระองค์ได้รับ




มัสยิดทองคำ Jame Ar’ Hassanil Bolkiah Mosque



          มัสยิดทองคำ Jame Ar’ Hassanil Bolkiah Mosque มัสยิดที่สง่างาม และศักดิ์สิทธิ์ของชาวบรูไน ที่ใช้งบประมาณในการสร้างมหาศาล โดยมีการนำเข้าวัสดุการก่อสร้างและตกแต่งจากทั่วทุกมุมโลกใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 7 ปี มีห้องสวดมนต์ 2 ห้องแยกชายและหญิงบันไดทางขึ้นแต่ละชั้นจะมี 29ขั้น ห้องละหมาดด้านบนตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยพรมสีเหลืองทองดูสว่างไสว จากนั้นนำท่านชมมัสยิด โอมาร์ อาลี ไซฟูดติน มัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไนตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และมัสยินนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1958 มีความงดงามจนได้ชื่อว่า มินิทัชมาฮาล


ชมบรูไนมิวเซียม


บรูไนมิวเซียม ภายในแยกส่วนจัดแสดงเป็น 5 ส่วนที่โดดเด่นที่สุดคือIslamic Arts Gallery ที่รวบรวมของสะสมโบราณล้ำค่าขององค์สุลต่านจากประเทศมุสลิมทั่วโลกมาแสดงไว้มากมาย , คัมภีร์อัลกุระอ่านขนาดเล็กที่สุดในโลก , หุ่นจำลองวัฒนธรรมประเพณีของชาวบรูไนตั้งแต่แรกเกิด การแต่งงานฯอีกห้องที่พลาดไม่ได้คือห้องที่รวบรวมประวัติการค้นพบน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลที่พลิกโฉมบรูไนให้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ชมแบบ จำลองขบวนการผลิต แท่นขุดเจาะน้ำมันในยุคแรกๆ







มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน 



          มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน  มัสยิคเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 พระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และสร้างเสร็จในปีค.ศ. 1958 พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน มัสยิคนี้มีความงดงามจนได้ชื่อว่า มินิทัชมาฮาล ชมมัสยิด โอมาร์ อาลี ไซฟูดติน มัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไนตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และมัสยินนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1958 มีความงดงามจนได้ชื่อว่า มินิทัชมาฮาล สมควรแก่เวลานำท่านเดินทางสู่สนามบิน บันดาร์เสรี เบกาวัน



ชุดประจำชาติบรูไน

                          ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู  
              ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส
              โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกาย   ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว
              ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกง  ขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคม แบบอนุรักษ์นิยม
              เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย


บาจู มลายู และบาจูกุรุง - ประเทศบรูไน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น